การเมือง

จาก “อำนาจนิยมเงียบ” สู่ “ประชาธิปไตยผสมโรง” ประเทศไทยเสียอะไรไปในระหว่างทาง?
เมื่อการเปลี่ยนผ่านอำนาจจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สู่ แพทองธาร ชินวัตร ดูเหมือนเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการเมืองไทยในรอบทศวรรษ แต่หากพิจารณาให้ลึกลงไปกว่าแค่ใบหน้าของผู้นำหรือสีของพรรคที่บริหารประเทศ เราอาจพบคำถามที่ใหญ่กว่าว่า… “ประเทศไทยเสียอะไรไปบ้างระหว่างทางแห่งการเมืองที่ไร้ความมั่นคง และประชาชนได้อะไรจากการเปลี่ยนมือที่ไม่เคยเปลี่ยนโครงสร้าง?” 1. ยุคประยุทธ์ เสถียรภาพที่แลกด้วยเสรีภาพ ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเริ่มจากการยึดอำนาจในปี 2557 จนก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีผ่านระบบรัฐธรรมนูญ 2560 จุดขายหลักของยุคนี้คือ “ความมั่นคง” และ “ระเบียบวินัย”แต่ในทางกลับกัน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นลดลงอย่างเห็นได้ชัด มีการใช้กฎหมายควบคุมสื่อ คุมผู้เห็นต่าง และดำเนินคดีทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยในช่วง 8 ปีของรัฐบาล คสช. เติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงหลังโควิด-19 ขณะที่ความเหลื่อมล้ำและปัญหาปากท้องของประชาชนยังไม่ได้รับการแก้ไขเชิงโครงสร้าง 2. ยุคแพทองธาร ความหวังใหม่ หรือการรีแบรนด์ของโครงสร้างเดิม? การมาถึงของ แพทองธาร ชินวัตร นำมาซึ่งความหวังของคนรุ่นใหม่ที่โหยหาการเปลี่ยนแปลง นโยบายประชานิยมเชิงสร้างสรรค์ถูกรื้อฟื้นควบคู่กับความพยายามลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือเบื้องหลังรัฐบาลนี้ยังคงเป็นการเมืองแบบประนีประนอม มีพันธมิตรเดิมในโครงสร้างรัฐราชการที่ไม่เปลี่ยนแปลง และหลายตำแหน่งสำคัญยังอยู่ในมือของกลุ่มอำนาจเก่า การบริหารประเทศในช่วงเริ่มต้นยังเผชิญความท้าทายจากภาวะหนี้ครัวเรือนสูง ภาษีถดถอย และการลงทุนต่างชาติที่ยังไม่ฟื้นเต็มที่ ประชาชนเริ่มตั้งคำถามว่า “นี่คือรัฐบาลเพื่อประชาชน หรือรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การอนุญาตของชนชั้นนำทางอำนาจ?” […]
อ่านต่อ
“ปิดไมค์-ปิดกล้อง” หนีตอบสื่อ “กองทัพไทย” กับคำถามใหญ่ ใช้ ม.112 ปิดปากนักวิชาการต่างชาติได้จริงหรือ?
TopicThailand พาเจาะลึกข่าวใหญ่ เมื่อกองทัพภาคที่ 3 ถูกตั้งคำถามเรื่องการเตรียมดำเนินคดี ม.112 กับ ดร.พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการต่างชาติ ผู้วิจารณ์บทบาทกองทัพไทย แต่แทนที่จะชี้แจง กลับ “ปิดกล้อง ปิดไมค์” แล้วออกจากวงประชุมกลางอากาศ ทิ้งไว้เพียงคำถามมากมายว่า… ประเทศไทยยังมีพื้นที่ให้กับคำวิจารณ์อยู่หรือไม่? 1. การสื่อสารที่ขาดความโปร่งใส สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง พฤติกรรม “ปิดกล้อง ปิดไมค์” หนีจากการประชุมของหน่วยงานรัฐหรือบุคลากรในเครื่องแบบ นอกจากจะขาดความเป็นมืออาชีพแล้ว ยังสะท้อนปัญหาเชิงลึกของระบบราชการไทยที่หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบต่อสาธารณะ ซึ่งในกรณีนี้ยิ่งรุนแรงขึ้น เพราะเกี่ยวพันกับการใช้กฎหมายมาตรา 112 ที่มีข้อถกเถียงอย่างสูงในระดับนานาชาติ 2. คำถามถึงมาตรฐานการใช้กฎหมาย การที่มีข่าวว่ากองทัพอาจพิจารณาฟ้องนักวิชาการต่างชาติด้วยมาตรา 112 ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า “ขอบเขตของกฎหมายนี้ควรถูกใช้กับใคร และภายใต้บริบทแบบใด?”กรณี ดร.พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการที่มีบทบาทในการวิเคราะห์กองทัพไทยอย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้เกิดคำถามว่า การฟ้องร้องมีเจตนา “ปิดปาก” นักวิจารณ์หรือไม่ มากกว่าจะเป็นการปกป้องสถาบันตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย 3. ผลกระทบด้านภาพลักษณ์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การดำเนินคดีนักวิชาการต่างชาติ ย่อมไม่ใช่แค่เรื่องภายในประเทศอีกต่อไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยในสายตาสังคมโลก ไม่ว่าจะเป็นในมุมมองเรื่องสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ (academic freedom) หรือความเป็นประชาธิปไตย […]
อ่านต่อ
บุกตรวจสอบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หลังจากสร้างเสร็จมา 10 ปี งบ 20 ล้าน แต่ไม่เคยเปิดเดินเครื่องใช้งาน ต้องจ่ายค่าดูแลมาตลอด ป.ป.ช. ชี้เป็นโครงการทุจริตเชิงนโยบาย
ตรัง – 23 เมษายน 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานที่ห้องประชุม อบต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง นายยุทธนา วิมลเมือง หัวหน้าป้องกันการทุจริต ปปช.ตรัง พร้อมด้วย ชมรมตรังต้านโกง ลงพื้นที่หลังจากที่มีชาวบ้านร้องเรียนว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนลำขนุน ต.นาชุมเห็ด ปล่อยทิ้งเอาไว้เฉย ๆ ไม่มีการดำเนินงานแต่อย่างใด ทำให้ประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์ ไม่คุ่มค่างบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างกว่า 20 ล้านบาท โดยมี นายอนุ ชูเนตร นายก อบต.นาชุมเห็ด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าปรึกษาหารือ ซึ่งนายอนุ นายก อบต.นาชุมเห็ต แจ้งว่า โครงการดังกล่าวมีมาก่อนที่ตนจะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ตนเองเข้ามารับตำแหน่งปี 2564 แต่มีการก่อสร้างมาตั้งแต่ ปี 2557 ซึ่งสร้างเสร็จและมีการส่งมอบกับทาง อบต. แต่ทาง อบต.ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เลย เนื่องจากติดระเบียบกฤษฎีกาเชิงพานิชไม่สามารถทำได้ และทาง อบต.ได้ส่งคืนให้กับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เมื่อปี 2563 รับมอบไปดูแล ซึ่งทรัพสินส่วนนี้ไม่ได้เป็นของ อบต.แล้ว เพียงแต่ทรัพสินอยู่ในพื้นที่ของ […]
อ่านต่อ
กกต.สมุทรสาคร ตัดสิทธิผู้สมัคร 10 ราย โทษหนักจำคุกถึง 10 ปี ตัดสิทธิเลือกตั้งอีก 20 ปี
สมุทรสาคร – 23 เมษายน พ.ศ.2568 นายนิติพัฒน์ ชูกล้ากสิกรณ์ พนักงานสืบสวนและไต่สวนชำนาญการกลุ่มงานสืบสวนสอบสวนและพรรคการเมือง สำนักงาน กกต.จังหวัดสมุทรสาคร ได้เปิดเผยกับผู้สี่อข่าวถึงกรณี การตรวจสอบคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น ปรากฎพบว่ามี ผู้สมัครรับเลือกตั้งถึง 10 ราย เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ผู้สมัครที่ กกต.ประกาศไม่รับสมัคร หรือโดนตัดสิทธิ์ ทั้งหมด 10 คน จากทั้งหมด 16 เทศบาล ได้แก่ ซึ่งมีผู้สมัครสมาชิกของเทศบาลนครอ้อมน้อยได้ยื่นอุทธรณ์ 1 คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบ หากตรวจสอบพบว่า คุณสมบัติครบก็จะได้กลับมาเป็นผู้ลงสมัครได้ดังเดิม ในกรณีของผู้สมัครที่โดนตัดสิทธิ จะมีความผิดตาม มาตรา 120 ผู้ใดลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ หรือลักษณะต้องห้าม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 20 ปี และหากว่าประชาชนได้กาเบอร์ที่ถูกตัดสิทธิ์รวมไปด้วยจะมีผลอย่างไรกับบัตรเลือกตั้งใบนั้นจะถือเป็นบัตรเสียหรือไม่ นายนิติพัฒน์ ชี้แจงว่า บัตรเลือกตั้งใบนั้นให้ถือว่ายังไม่เป็นบัตรเสีย […]
อ่านต่อ
จำคุก 2 อดีตอัยการ คดีเปลี่ยนความเร็ว “บอส ลูกกระทิงแดง” ส่วน “สมยศ” ยังต้องสู้ที่ศาลสูงต่อ
กรุงเทพฯ – 22 เมษายน 2568 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลได้นัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ อท 131/2567 และคดีหมายเลขแดงที่ อท 68/2568, ซึ่งอัยการสูงสุด โดยพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร.กับพวกรวม 8 คน เป็นจำเลย ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157, 200, 83, 86 พ.ร.ป.ประกอบรัฐธรรมนูญญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172,192 กรณีที่พวกจำเลยทั้งหมด ร่วมกันกระทำผิดเปลี่ยนแปลงพยานหลักฐานในคดี คำให้การพยาน ความเร็วรถยนต์ฯ เพื่อช่วยเหลือนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อดัง ผู้ต้องหา เพื่อให้พ้นผิด หรือรับโทษน้อยลง ที่นายวรยุทธ […]
อ่านต่อ
“เฮียเบี้ยวยังปัง!” คนธัญบุรียังหนุนยกทีม แม้ลูกชายเจอดราม่าหนัก BMW ชนลุงป้า
แม้โซเชียลจะลุกเป็นไฟจากเหตุการณ์สุดดราม่า หนุ่มขับ BMW ป้ายแดงซิ่งเบียดรถกระบะลุงป้าจนเจ็บหนักบนมอเตอร์เวย์สาย 9 – แต่เชื่อมั้ย? คนธัญบุรีหลายเสียงยังเทใจให้ “เฮียเบี้ยว” อดีตนายกฯ ขวัญใจชาวบ้าน พร้อมหนุนลูกชายสุดตัวลงสนามการเมือง! เรื่องเริ่มจากวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมา “พีช” สมิทธิพัฒน์ หลีนวรัตน์ วัย 28 ปี ลูกชายของ “นายกเบี้ยว” กฤษฎา หลีนวรัตน์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลธัญบุรี ตกเป็นข่าวฉาวหลังขับรถหรูชนลุงป้าจนเจ็บสาหัส แต่ที่ฮือฮากว่านั้นคือ พีชกำลังลงสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ท. เขต 2 ในพื้นที่ที่พ่อเคยปกครอง แล้วชาวบ้านว่าไง? “แยกแยะเป็นนะลูก เรื่องลูกก็เรื่องนึง แต่นายกเบี้ยวดูแลพวกเราดีจริง!”เสียงจากลุงศักดิ์ชัย วินมอเตอร์ไซค์วัย 68 ปี ฟาดแรงแต่จริงใจ “อยากให้นายกเบี้ยวกลับมา ดูแลดีมาก ใจถึงพึ่งได้ เรื่องลูกก็ปล่อยให้กฎหมายจัดการไป” “พ่อแม่น้องพีชดีมาก โทรวันนี้พรุ่งนี้มาถึงเลย!”ป้าเจี๊ยบ เจ้าของร้านข้าวแกงย่านลำผักกูด ย้ำชัด “เลือกเฮียเบี้ยวมาหลายรอบแล้ว และจะเลือกต่อ! น้ำไม่ไหล ไฟไม่ติด โทรไปไม่กี่ชั่วโมงก็มาจัดการให้แล้ว […]
อ่านต่อ
หวั่น! ใช้อิทธิพลเอื้อประโยชน์ทางคดี ลูกนักการเมืองก่อเหตุขับรถปาดหน้า ที่ครอบครัวสนิทกับ “ทักษิณ”
กรุงเทพฯ – จากกรณีโฆษกพรรคเพื่อไทยปฏิเสธว่าคู่กรณีในอุบัติเหตุนักการเมืองท้องถิ่นขับรถปาดหน้ารถกระบะจนทำให้มีผู้บาดเจ็บสาหัส ว่าไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และขออย่าโยงว่าเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทยนั้น พล.ต.ท. ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ชี้ว่า ประชาชนและสังคมไม่ได้ให้ความสำคัญว่าคู่กรณีสังกัดพรรคเพื่อไทยหรือไม่ เพราะไม่ได้เกิดประโยชน์กับสังคม แต่ประชาชนและสังคมเป็นห่วงว่า คู่กรณีมีความสนิทสนมกับ “แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี” และพ่อของนายกรัฐมนตรี อีกทั้งนายกรัฐมนตรี ยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) อาจจะมีผลต่อการแทรกแซง หรือเกิดความเกรงใจ ทำให้คดีไม่ตรงไปตรงมาได้ นายกรัฐมนตรี คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญ เพราะในวันนั้นนายกรัฐมนตรีและ พ่อของแพทองธาร ตั้งใจเดินทางไปเป็นประธานในงานบวชคู่กรณีดังกล่าวถึงปทุมธานี เรื่องนี้โฆษกพรรคเพื่อไทยคงปฏิเสธไม่ได้เช่นกัน “ภาพมันฟ้อง ทั้งภาพและคลิปว่อนอยู่ในโซเชียลมีเดีย และในข่าวต่าง ๆ อยู่เป็นพัน ๆ รูป พี่น้องประชาชนและสังคมทั่วไปเห็นกันหมด มันปกปิดไม่ได้ และเบี่ยงเบนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ด้วยเช่นกัน” โฆษกพรรคพลังประชารัฐกล่าว โฆษกพรรคพลังประชารัฐ ยังระบุว่า เพราะการที่นายกรัฐมนตรีและพ่อ ไปร่วมงานเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2567 หลังจากที่ อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด ได้ตรวจพิจารณาสำนวน และมีคำสั่งคดีเมื่อวันที่ 27 […]
อ่านต่อ
“เวียดนาม” ผ่าตัดรัฐขนานใหญ่! ยุบจังหวัด-ลดข้าราชการ ปรับโครงสร้างสู่ประเทศแห่งอนาคต
ในขณะที่หลายประเทศกำลังเผชิญกับภาระงบประมาณและระบบราชการที่เทอะทะ เวียดนามได้ก้าวออกมาเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคที่กล้าประกาศ “ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่” โดยมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนจังหวัดจาก 63 เหลือ 34 จังหวัด พร้อมยุบหน่วยงานระดับตำบล 60–70% และตัดลดจำนวนกระทรวง-ข้าราชการอย่างจริงจังภายใน 5 ปีข้างหน้า นี่ไม่ใช่แค่การปรับโครงสร้างองค์กร แต่คือการผ่าตัดรัฐทั้งระบบเพื่อปูทางสู่ “การบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพในศตวรรษที่ 21” ทำไมเวียดนามต้องกล้าเปลี่ยน? 1. ภาระงบประมาณแผ่นดินระบบราชการที่ขยายตัวต่อเนื่องทำให้เวียดนามต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงมาก โดยมีข้าราชการเกือบ 2 ล้านคน การลดหน่วยงานและตำแหน่งจึงเป็นการบรรเทาภาระด้านการเงิน พร้อมเพิ่มงบประมาณให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการประชาชนมากขึ้น 2. ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มความคล่องตัวหน่วยงานท้องถิ่นหลายแห่งมีบทบาทซ้ำซ้อน หรือไม่มีขนาดที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ เวียดนามมองเห็นว่า “การลดจำนวน” อาจเป็นคำตอบที่ทำให้การบริหารไม่ติดขัด ตอบสนองประชาชนได้เร็วขึ้น และป้องกันการทุจริตที่เกิดจากโครงสร้างซับซ้อน 3. ยกระดับศักยภาพของจังหวัดการควบรวมจังหวัดเล็กเข้ากับจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า จะทำให้พื้นที่ใหม่มีทรัพยากรเพียงพอในการบริหาร และสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น ไม่ตกขบวนการเติบโตของประเทศ ความเสี่ยงและความท้าทาย แม้แผนนี้จะดูทะเยอทะยานและมีเหตุผลรองรับอย่างดี แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความเสี่ยง ◾แรงต้านจากข้าราชการเดิม ที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากการตัดตำแหน่ง ◾ปัญหาทางจิตวิทยาของประชาชน ที่รู้สึกผูกพันกับ “ชื่อจังหวัด” เดิม อาจสร้างแรงกระเพื่อมในสังคม ◾ความซับซ้อนในการบริหารจัดการการเปลี่ยนผ่าน หากไม่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ อาจนำไปสู่ความสับสนในพื้นที่และการให้บริการที่ล่าช้า ก้าวสำคัญบนเวทีโลก การเคลื่อนไหวครั้งนี้ […]
อ่านต่อ
สภาเดือดก่อนปิดสมัยประชุม เรียกตำรวจนำตัว สส.กาย ออกนอกห้องประชุม
สภาผู้แทนราษฎร 10 เมษายน 2568 : การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 31 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ) ขณะที่นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่หนึ่ง และ สส.พรรคเพื่อไทย เป็นประธานการประชุม ในวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม. พรรคประชาชน ได้ลุกประท้วง นายพิเชษฐ์ ที่ทำหน้าที่ประธานกรณีรัฐมนตรีเลื่อนตอบกระทู้ว่า กระทรวงที่มีรัฐมนตรีหลายคน ก็อาจจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาตอบได้ มีการตั้งกระทู้ถามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งหมด 4 กระทู้ และ 3 กระทู้จากพรรคฝ่ายรัฐบาล รัฐมนตรีได้ตอบ ส่วนกระทู้ของตนเองกลับถูกเลื่อน ตนเองถามตั้งแต่วันแรกในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยนี้ และวันนี้เดินทางมาถึงวันสุดท้ายของการปิดสมัยประชุมสภา ตนเองได้รับหนังสือว่าเลื่อนแล้วเลื่อนอีก เลื่อนแบบเจ็บช้ำกว่าคนอื่น เลื่อนแบบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั่งอยู่ตรงนี้ แต่ไม่สามารถตอบตนเองได้ ตามที่ประธานบอกว่ารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มี 3 คน น่าจะสับเปลี่ยนได้ สับเปลี่ยนอย่างไรก็สามารถตอบตนได้ เลื่อนมา 4 เดือนเต็ม ๆ จนถึงวันสุดท้าย บอกตอบไม่ได้ทั้งที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ นายพิเชษฐ์ กล่าวตอบว่า รัฐมนตรี […]
อ่านต่อ
สหรัฐฯ กังวล! จับตาใกล้ชิดคดี “พอล แชมเบอร์ส” ถูกจับในไทย ฐานหมิ่นฯ และพ.ร.บ.คอมฯ
สหรัฐฯ แสดงจุดยืนชัด! หลัง “พอล แชมเบอร์ส” ถูกจับในไทยด้วยข้อหาหมิ่นฯ และพ.ร.บ.คอมฯ พร้อมขอเข้าพบตัวนักวิชาการชื่อดัง หวั่นกระทบเสรีภาพในการแสดงออก ตอกย้ำความกังวลเรื่องการใช้กฎหมายหมิ่นฯ อย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 แทมมี่ บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ออกแถลงการณ์แสดงความ “ตกใจ” ต่อกรณีที่ นายพอล แชมเบอร์ส พลเมืองสหรัฐฯ ถูกทางการไทยจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า กำลังติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด และให้ความสำคัญกับการดูแลและให้ความช่วยเหลือพลเมืองอเมริกันในต่างประเทศอย่างจริงจัง โดยได้มีการติดต่อกับทางการไทยในเรื่องนี้แล้ว พร้อมทั้งขอเข้าพบนายพอล แชมเบอร์ส เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านกงสุล และตรวจสอบสวัสดิภาพ ในแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า กรณีนี้สะท้อนถึงความกังวลที่สหรัฐฯ มีมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย ซึ่งอาจกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สหรัฐฯ จึงขอเรียกร้องให้ทางการไทยเคารพสิทธิเสรีภาพดังกล่าว และใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะติดตามคดีของนายพอล แชมเบอร์สอย่างใกล้ชิด และหวังให้มีการปฏิบัติต่อเขาอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มได้ที่:สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย
อ่านต่อ