หัวข้อประเทศไทย

“เงาแห่งความสงสาร” ขอทานข้ามชาติและความล้มเหลวของกลไกรัฐ
กลางสี่แยกไฟแดงที่รถติดยาวเหยียด เราเห็นเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ หน้าตาไม่คุ้นกับผิวพรรณคนไทย ถือถ้วยพลาสติกเดินวนเวียนระหว่างรถ พร้อมท่าทางอ้อนวอนที่ซ้ำซาก หลายคนรู้…เธอไม่ได้มาเพราะเลือก แต่มาเพราะมี “ใครบางคน” เลือกให้เธออยู่ตรงนั้น “ขอทานต่างด้าว” ไม่ใช่ภาพใหม่ในสังคมไทยแต่มันกลายเป็น “ภาพประจำ” ที่เราชาชินกันไปแล้ว ท่ามกลางคำถามคาใจว่า ทำไมถึงปล่อยให้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก? ตัวเลขที่ไม่โกหก…แต่รัฐยังนิ่งเฉย จากรายงานของ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (ปี 2566) พบว่ามีการจับกุมขอทานทั่วประเทศ มากกว่า 1,000 รายต่อปี โดยกว่า 70% เป็นชาวต่างด้าว ส่วนใหญ่มาจาก ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว และเมียนมา เรามีกฎหมาย แต่ไม่มีกลไกจัดการที่ยั่งยืน แม้มี พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้มีการคัดกรองขอทานอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด แต่ในทางปฏิบัติ… “ใครได้ประโยชน์?” ประชาชนทำได้แค่ “ไม่ให้” แล้วรัฐ ทำอะไรอยู่? ขณะที่ภาคประชาชนเริ่มรณรงค์ “ไม่ให้เงินขอทาน” เพื่อไม่ส่งเสริมวงจรนี้คำถามที่ควรถามคือ “แล้วรัฐกำลังรณรงค์หรือจัดการกับต้นตออยู่ตรงไหน?” มีหน่วยไหนเดินหน้าสืบสวนเครือข่ายจริงจังบ้าง? มีมาตรการอะไรที่ยั่งยืนกว่าการจับแล้วปล่อย? เคยมีการทำความร่วมมือระหว่างประเทศจริงจังหรือไม่? […]
อ่านต่อ
“งานศพอีสาน” เมื่อความเศร้ากลายเป็นภาระ — ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเปลี่ยน?
ในภาคอีสานของประเทศไทย งานศพไม่ได้เป็นเพียงแค่พิธีส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับสู่สุขติ แต่ยังเป็นงานใหญ่ของชุมชน เป็นจารีตที่สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น เต็มไปด้วยความศรัทธา ความรัก และความผูกพัน แต่ในอีกมุมหนึ่ง งานศพกลับกลายเป็น “ภาระ” ทางการเงินที่หลายครอบครัวต้องแบกรับอย่างหนัก บางครั้งก็หนักเกินความจำเป็น วัฒนธรรมงานศพในภาคอีสาน พิธีกรรมและความศรัทธา พิธีงานศพของชาวอีสานมักจัดอย่างละเอียดและครบถ้วน เริ่มตั้งแต่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลหลายคืน มีการนิมนต์พระสวดอภิธรรม เลี้ยงแขกจำนวนมาก จัดดอกไม้ เครื่องเสียง และอาหาร บางทีก็มีมหรสพพื้นบ้านอย่างหมอลำ ลิเก หรือดนตรีพื้นเมืองเพื่อ “ส่งดวงวิญญาณให้ไม่เหงา” วัฒนธรรมนี้ สะท้อนถึงการให้เกียรติผู้ล่วงลับและความสามัคคีของชุมชน ซึ่งมีรากลึกในความเชื่อแบบพุทธผสมผสานกับผีพื้นบ้านอีสาน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย งานศพหนึ่งงาน อาจสูงถึงหลักแสน แม้จะขึ้นอยู่กับขนาดของงานและความสามารถของเจ้าภาพ แต่โดยเฉลี่ยแล้วงานศพในภาคอีสานอาจมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 50,000 – 150,000 บาท หรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะหากมีการจัดงานหลายวันหรือจ้างวงดนตรีเต็มรูปแบบ จากการสำรวจของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ปี 2563) พบว่า ในบางจังหวัดของภาคอีสาน เช่น มหาสารคาม ขอนแก่น และอุบลราชธานี ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในงานศพสูงถึง 80,000 บาท ซึ่งถือว่าสูง เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในพื้นที่ กรณีศึกษาจากพื้นที่จริง […]
อ่านต่อ
กะเหรี่ยง DKBA ย้าย 277 ผู้ประท้วงที่ถูกควบคุมจากแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ไปเมียวดี
ตาก – ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2568 ว่ากองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย หรือ DKBA ในประเทศเมียนมา ได้นำรถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 4 คัน ทำการเคลื่อนย้ายชาวต่างชาติ ที่เกี่ยวข้องกับแก้งคอลเซ็นเตอร์ จำนวน 277 คน จาก 9 สัญชาติ ออกจากพื้นที่ควบคุมตัว โครงการไท่ซาง 1 ซึ่งอยู่ตรงข้าม บ้านช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก ประเทศไทย โดยออกเดินทางไปยัง สนามกีฬาเมียวดี จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา เพื่อให้ทางการทหารเมียนมาได้ตรวจสอบ และดำเนินการส่งกลับ ตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งบุคคลต่างชาติกลุ่มดังกล่าว เป็นกลุ่มที่ทำการประท้วง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา. ภาพข่าว : อัศวิน มีเดีย ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดตาก อ่านข่าวอื่น ๆ :
อ่านต่อ
ชายแดนเดือด! หลังสงกรานต์ การสู้รบในเมียนมา กลับมาปะทุอีกครั้ง
ตาก เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2568 – ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวสถานการณ์ชายแดนไทย -เมียนมา ด้านตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ขณะนี้ได้เกิดการสู้รบ ที่เริ่มปะทุขึ้นมาอีกครั้ง ภายหลังเทศกาลสงกรานต์ โดยกองกำลังกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมา ได้นำกำลังเข้าโจมตี ทหารเมียนมา ที่ บก.ควบคุมยุทธการที่ 12 ซึ่งวางกำลังอยู่ตามเส้นทาง อ.โจ่งโด่ง – อ.กอกาเร็ก จังหวัดกอกาเร็ก รัฐกะเหรี่ยง บริเวณพื้นที่หลักไมล์ ที่ 4 , หลักไมล์ที่ 5 และหลักไมล์ที่ 9 อ.กอกาเร็ก จ.กอกาเร็ก รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา ด้านตรงข้าม บ้านริมเมย หมู่ 2 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด ห่างจากแนวชายแดนประมาณ 42 กม. โดยกองกำลังกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมา สามารถควบคุมตัว ทหารเมียนมา และตรวจยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้จำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาทหารเมียนมาได้ตอบโต้ ด้วยการใช้อากาศยาน (แบบ YAK-130) […]
อ่านต่อ
คลินิกจิตสังคม ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ต้นแบบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมจำเลยคดียาเสพติดที่ผ่านคลินิกกลับไปสู่สังคมไม่ทำผิดซ้ำอีก
โดยบูรพา เล็กล้วนงาม : คอลัมนิสต์ TopicThailand คลินิกจิตสังคม คือ คลินิกด้านจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์ เป็นหน่วยงานหนึ่งของศาลยุติธรรม แต่มีหน้าที่แตกต่างจากหน้าที่ศาลโดยทั่วไป คือพิจารณาและตัดสินคดี นั่นคือ คลินิกจิตสังคมมีหน้าที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก โดยคดีที่เข้าสู่คลินิกจิตสังคมมีหลายฐานความผิด แต่คดีที่มีจำนวนมากที่สุดคือคดีเกี่ยวกับยาเสพติด สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ในเรือนจำทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 มีผู้ต้องขังทั้งประเทศ 283,984 คน เป็นผู้ต้องขังในคดียาเสพติด 203,875 คน คิดเป็นร้อยละ 71.19 ของผู้ต้องขังทั้งหมด อัตราการทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัว ภายในเวลา 3 ปี จะพบว่า เท่ากับว่าการทำผิดซ้ำเป็นปัญหาสำคัญ เพราะการที่ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว กลับมาทำผิดซ้ำอีกแสดงว่าพวกเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ จึงต้องทำผิดอีก และทำให้สถานการณ์อาชญากรรมไม่คลี่คลาย ศาลให้โอกาสผู้ทำผิดคดียาเสพติด แต่เดิมศาลใช้กฎหมายจัดการปัญหายาเสพติดด้วยการมุ่งลงโทษ แต่พบว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะมีผู้ทำผิดซ้ำ ศาลจึงปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการปัญหาโดยลงลึกไปถึงตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมีคลินิกจิตสังคมเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ วันชัย แก้วพรหม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดนนทบุรี ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสมุทรปราการ บอกเล่าถึงที่มาและแนวนโยบายของคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบศาลจังหวัดสมุทรปราการ หรือ […]
อ่านต่อ
หลงทิศ หลงทาง ด้านนโยบายรัฐ เพราะยังมีทัศนคติ “ผู้เสพยา คืออาชญากร”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยาเสพติด เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ผู้ที่เสพยาเสพติด ก็เป็นอันตรายต่อร่างกายสุขภาพ และอาจเป็นภัยต่อสังคมเมื่อการเสพยานั้น มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ยังมีผู้ที่ใช้สารเสพติด เพื่อประกอบอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว ยังคงมีอยู่ในสังคมจริง ถึงแม้จะไม่มีรายงานตัวเลข หรือผลวิจัยอย่างเป็นทางการ ว่าผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้สารเสพติดเพื่อการประกอบอาชีพในประเทศไทย มีจำนวนมากน้อยเท่าใด เพราะยาเสพติดถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยอยู่ แต่มีผลสำรวจของเอแบคโพลล์ เมื่อปี 2555 พบว่ามีผู้เคยใช้ยาบ้าตลอดประสบการณ์ชีวิตประมาณ 3.7 ล้านคน เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่ากลุ่มรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป เกษตรกร ก่อสร้าง คนขับรถ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีจำนวนกว่า 1.2 ล้านคน ที่เคยใช้ยาบ้า รองลงมาคือกลุ่มคนว่างงานประมาณ 7.9 แสนคน และกลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ และลูกจ้างหน่วยงานรัฐประมาณ 4.8 แสนคน (อ้างอิง) และจากรายงานการสังเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย ปี 2567 เผยแพร่โดย ป.ป.ส.จากระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดกลุ่มผู้เสพและผู้ติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศในปี พ.ศ.2566 มีจำนวนกว่า 170,000 คน การเข้าสู่ระบบบำบัดรักษาโดยสมัครใจมีสัดส่วน สูงเป็นร้อยละ 56.3 […]
อ่านต่อ
ทำไม? ไทยครองแชมป์อาเซียน! ใช้กฎหมายปิดปากนักสิทธิฯ เกือบ 600 คดี – เสรีภาพหรือความกลัว?
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 1 ของอาเซียนในการใช้ “กฎหมายปิดปาก” หรือ SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) กับนักเคลื่อนไหว นักข่าว และนักสิทธิมนุษยชนมากถึงเกือบ 600 คดี SLAPP เป็นกลยุทธ์ที่มักใช้โดยภาครัฐและภาคธุรกิจ เพื่อข่มขู่และทำให้ผู้ที่ออกมาเปิดโปงเรื่องการละเมิดสิทธิ หรือทุจริต ต้องเผชิญกับคดีความ จนหลายคนต้องหยุดเคลื่อนไหว เพราะไม่สามารถรับภาระทางกฎหมายได้ “กฎหมายปิดปาก” คืออะไร? “กฎหมายปิดปาก” หรือ SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) เป็นกลยุทธ์ทางกฎหมายที่ใช้ฟ้องร้องนักเคลื่อนไหว นักข่าว หรือประชาชนที่ออกมาเปิดโปงปัญหาทางสังคม เพื่อให้พวกเขาหยุดวิพากษ์วิจารณ์หรือลดบทบาทลง เพราะต้องเผชิญกับภาระทางกฎหมาย ค่าทนาย และแรงกดดันต่าง ๆ ทำไมไทยถึงเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน? จากรายงานขององค์การสิทธิมนุษยชน พบว่าประเทศไทยมีคดีที่เข้าข่ายการใช้กฎหมายปิดปากนักสิทธิฯ มากที่สุดในภูมิภาค โดยมีสาเหตุหลัก ดังนี้ 1. กฎหมายหมิ่นประมาททางแพ่งและอาญา – อาวุธฟ้องปิดปาก ตัวอย่างคดี:นักข่าวและนักสิทธิฯ […]
อ่านต่อ
เมื่อผู้เสพยาเสพติด ยังถูกบีบให้เป็นนักโทษ
รัฐบาลไทยได้แก้ไขกฎหมายยาเสพติดล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 โดยปรับลดปริมาณการครอบครองยาบ้าที่ถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อเสพ จากไม่เกิน 5 เม็ด เหลือไม่เกิน 1 เม็ด หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม หากครอบครองเกินกว่านี้จะถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย การแก้ไขกฎกระทรวงครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นการปราบปรามผู้ค้าและการบำบัดรักษาผู้เสพ เมื่อย้อนไปดูมาตรการที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศอย่างเด็ดขาดและครบวงจร โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้: นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เปิดปฏิบัติการ “Seal Stop Safe” ใน 51 อำเภอชายแดน เพื่อสกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาดแต่! จากสถิติคดียาเสพติด ของสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด พบว่า สำนวนประเภท (ส.1 ฟื้นฟู) หรือ สำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งพนักงานอัยการพิจารณาส่งผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแทนการดำเนินคดีอาญา แต่จำนวนผู้ต้องหาในประเภท (ส.1 ฟื้นฟู) กลับลดน้อยลงมากอย่างมีนัยยะ (ข้อมูลอ้างอิง เว็บไซต์สำนักงานอัยการสูงสุด) หากเจาะเข้าไปดูตัวเลขสถิติสำนวนประเภท (ส.1 ฟื้นฟู) ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา […]
อ่านต่อ
“ด่วน! ไทยถูกลดระดับเป็น ‘ไม่มีเสรีภาพ’ เทียบชั้นเขมร-จีน-พม่า หลังศาลยุบก้าวไกล-ส่งอุยกูร์กลับจีน”
วันนี้ (15 มี.ค. 2568) องค์กร Freedom House ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ติดตามและประเมินสถานการณ์เสรีภาพทั่วโลก ได้เผยแพร่รายงานประจำปี 2025 โดยระบุว่า ประเทศไทยถูกลดระดับจากประเทศที่ “มีเสรีภาพบางส่วน” มาเป็น “ไม่มีเสรีภาพ” คะแนนรวมของประเทศไทย– ได้คะแนนรวม 34 จาก 100 คะแนน ลดลงจาก 36 คะแนนในปีก่อนหน้า– แบ่งเป็นคะแนนสิทธิทางการเมือง 11 จาก 40 และเสรีภาพพลเมือง 23 จาก 60 สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยถูกลดระดับ – การยุบพรรคก้าวไกล ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักที่ได้รับความนิยมในการเลือกตั้ง ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางการเมืองและสิทธิในการเลือกตั้งของประชาชน – การส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง ทางการไทยได้ส่งตัวนักเคลื่อนไหวและผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศที่พวกเขาอาจเผชิญกับการปฏิบัติที่เลวร้าย ซึ่งเป็นการละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชนสากล การลดระดับครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ “ไม่มีเสรีภาพ” เช่นเดียวกับกัมพูชา เมียนมา และจีน ภาพรวมของเสรีภาพในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ปี 2563 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “มีเสรีภาพบางส่วน” ด้วยคะแนน 32 จาก […]
อ่านต่อ
“ไทยถูกคว่ำบาตร! สหรัฐฯ ลงดาบเจ้าหน้าที่ เอี่ยวส่งอุยกูร์กลับจีน ผลกระทบลามถึงเศรษฐกิจและการทูต”
สหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรด้วยการจำกัดวีซ่าสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งตัวชาวอุยกูร์อย่างน้อย 40 คนกลับไปยังประเทศจีนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาประกาศว่า สหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการคว่ำบาตรด้านวีซ่ากับเจ้าหน้าที่ของไทยที่เกี่ยวข้องกับการส่งตัวชาวอุยกูร์อย่างน้อย 40 คนกลับไปยังประเทศจีน ซึ่งสหรัฐฯ เชื่อว่าชาวมุสลิมกลุ่มนี้อาจต้องเผชิญกับการถูกทรมานและบังคับสูญหาย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในแถลงการณ์ว่า “สหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับความพยายามของจีนในการกดดันรัฐบาลต่างๆ ให้ส่งชาวอุยกูร์และกลุ่มอื่นๆ กลับไปยังจีน ซึ่งพวกเขาจะต้องเผชิญกับการทรมานและบังคับสูญหาย” มาตรการดังกล่าวของสหรัฐฯ ดูเหมือนมีเป้าหมายเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ดำเนินการเช่นนี้อีก ประเทศไทยส่งชาวอุยกูร์กลับไปยังจีนในเดือนก.พ. แม้ว่าพวกเขาได้ถูกควบคุมตัวมานานถึง 10 ปี โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN) เตือนว่า หากถูกส่งกลับ พวกเขาอาจถูกทรมาน ถูกปฏิบัติอย่างโหดร้าย หรือได้รับอันตรายร้ายแรง ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แคนาดาและสหรัฐฯ เสนอที่จะรับชาวอุยกูร์ 48 คนเพื่อย้ายถิ่นฐาน แต่ไทยกลับกังวลว่า จะทำให้จีนไม่พอใจ รูบิโอ กล่าวว่า “ผมจะดำเนินนโยบายนี้ทันที โดยการกำหนดข้อจำกัดในการออกวีซ่าสำหรับเจ้าหน้าที่ปัจจุบันและอดีตจากรัฐบาลไทยที่รับผิดชอบหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งตัวชาวอุยกูร์ 40 คนจากประเทศไทยในวันที่ 27 […]
อ่านต่อ