ยาเสพติดในไทย

ยาบ้า 7 แสนเม็ดทิ้งกลางดึก! แก๊งค้ายาข้ามชาติเหิม ส่งวัยรุ่นลำเลียงริมโขง ท้าทายทหารพราน

นครพนม – ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติสุดอุกอาจ ลักลอบส่งยาบ้า 710,000 เม็ดขึ้นฝั่งริมแม่น้ำโขง อ.บ้านแพง จ.นครพนม ห่างฐานทหารพรานไม่ถึงกิโลเมตร โดยใช้วัยรุ่นติดยาเป็น “กองทัพมด” ขนยาบ้าขึ้นฝั่งกลางดึก ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ไล่ตะครุบจนต้องทิ้งของกลางเผ่นหนี เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา นายราชวัชร์ เพ็ชร์ไพรฑูรย์ นายอำเภอบ้านแพง พร้อมหน่วยงานความมั่นคง แถลงผลตรวจยึดยาบ้าล็อตใหญ่ จำนวน 710,000 เม็ด บริเวณบ้านปากห้วยม่วง ติดริมโขง ฝั่งตรงข้ามเมืองหินบูน แขวงคำม่วน สปป.ลาว ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่กลุ่มค้ายาใช้ลักลอบขนยาเข้าประเทศไทย เหิมไม่เกรงกลัว ส่งยาตรงหน้าฐานทหาร รายงานระบุว่า ช่วงที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนจากกองร้อยทหารพราน 2101 ได้รับข้อมูลข่าวกรองว่า จะมีการลำเลียงยาเข้ามาผ่านเส้นทางนี้ เนื่องจากระดับน้ำโขงลดต่ำ ทำให้ขนของข้ามฝั่งได้ง่ายขึ้น เจ้าหน้าที่จึงเพิ่มการตรวจตรา กระทั่งพบชายวัยรุ่น 2 คน แบกกระสอบปุ๋ยขึ้นมาจากริมห้วยม่วง เมื่อเจ้าหน้าที่แสดงตัว วัยรุ่นทั้งคู่รีบวิ่งหลบหนี ทิ้งกระสอบไว้ให้ตรวจสอบ จากการตรวจสอบ พบยาบ้าซุกซ่อนในกระสอบปุ๋ยสีฟ้า 3 ใบ รวมกว่า 710,000 […]

อ่านต่อ

คลินิกจิตสังคม ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ต้นแบบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมจำเลยคดียาเสพติดที่ผ่านคลินิกกลับไปสู่สังคมไม่ทำผิดซ้ำอีก

โดยบูรพา เล็กล้วนงาม : คอลัมนิสต์ TopicThailand คลินิกจิตสังคม คือ คลินิกด้านจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์ เป็นหน่วยงานหนึ่งของศาลยุติธรรม แต่มีหน้าที่แตกต่างจากหน้าที่ศาลโดยทั่วไป คือพิจารณาและตัดสินคดี นั่นคือ คลินิกจิตสังคมมีหน้าที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก โดยคดีที่เข้าสู่คลินิกจิตสังคมมีหลายฐานความผิด แต่คดีที่มีจำนวนมากที่สุดคือคดีเกี่ยวกับยาเสพติด สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ในเรือนจำทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2568 มีผู้ต้องขังทั้งประเทศ 283,984 คน เป็นผู้ต้องขังในคดียาเสพติด 203,875 คน คิดเป็นร้อยละ 71.19 ของผู้ต้องขังทั้งหมด อัตราการทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัว ภายในเวลา 3 ปี จะพบว่า เท่ากับว่าการทำผิดซ้ำเป็นปัญหาสำคัญ เพราะการที่ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว กลับมาทำผิดซ้ำอีกแสดงว่าพวกเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ จึงต้องทำผิดอีก และทำให้สถานการณ์อาชญากรรมไม่คลี่คลาย ศาลให้โอกาสผู้ทำผิดคดียาเสพติด แต่เดิมศาลใช้กฎหมายจัดการปัญหายาเสพติดด้วยการมุ่งลงโทษ แต่พบว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะมีผู้ทำผิดซ้ำ ศาลจึงปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการปัญหาโดยลงลึกไปถึงตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมีคลินิกจิตสังคมเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ วันชัย แก้วพรหม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดนนทบุรี ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสมุทรปราการ บอกเล่าถึงที่มาและแนวนโยบายของคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในระบบศาลจังหวัดสมุทรปราการ หรือ […]

อ่านต่อ

หลงทิศ หลงทาง ด้านนโยบายรัฐ เพราะยังมีทัศนคติ “ผู้เสพยา คืออาชญากร”

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยาเสพติด เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ผู้ที่เสพยาเสพติด ก็เป็นอันตรายต่อร่างกายสุขภาพ และอาจเป็นภัยต่อสังคมเมื่อการเสพยานั้น มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ยังมีผู้ที่ใช้สารเสพติด เพื่อประกอบอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว ยังคงมีอยู่ในสังคมจริง ถึงแม้จะไม่มีรายงานตัวเลข หรือผลวิจัยอย่างเป็นทางการ ว่าผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้สารเสพติดเพื่อการประกอบอาชีพในประเทศไทย มีจำนวนมากน้อยเท่าใด เพราะยาเสพติดถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยอยู่ แต่มีผลสำรวจของเอแบคโพลล์ เมื่อปี 2555 พบว่ามีผู้เคยใช้ยาบ้าตลอดประสบการณ์ชีวิตประมาณ 3.7 ล้านคน เมื่อจำแนกตามอาชีพ พบว่ากลุ่มรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป เกษตรกร ก่อสร้าง คนขับรถ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มีจำนวนกว่า 1.2 ล้านคน ที่เคยใช้ยาบ้า รองลงมาคือกลุ่มคนว่างงานประมาณ 7.9 แสนคน และกลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ และลูกจ้างหน่วยงานรัฐประมาณ 4.8 แสนคน (อ้างอิง) และจากรายงานการสังเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย ปี 2567 เผยแพร่โดย ป.ป.ส.จากระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดกลุ่มผู้เสพและผู้ติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศในปี พ.ศ.2566 มีจำนวนกว่า 170,000 คน การเข้าสู่ระบบบำบัดรักษาโดยสมัครใจมีสัดส่วน สูงเป็นร้อยละ 56.3 […]

อ่านต่อ

เมื่อผู้เสพยาเสพติด ยังถูกบีบให้เป็นนักโทษ

รัฐบาลไทยได้แก้ไขกฎหมายยาเสพติดล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 โดยปรับลดปริมาณการครอบครองยาบ้าที่ถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อเสพ จากไม่เกิน 5 เม็ด เหลือไม่เกิน 1 เม็ด หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม หากครอบครองเกินกว่านี้จะถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย การแก้ไขกฎกระทรวงครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นการปราบปรามผู้ค้าและการบำบัดรักษาผู้เสพ เมื่อย้อนไปดูมาตรการที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศอย่างเด็ดขาดและครบวงจร โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้: นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เปิดปฏิบัติการ “Seal Stop Safe” ใน 51 อำเภอชายแดน เพื่อสกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาดแต่! จากสถิติคดียาเสพติด ของสำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด พบว่า สำนวนประเภท (ส.1 ฟื้นฟู) หรือ สำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งพนักงานอัยการพิจารณาส่งผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแทนการดำเนินคดีอาญา แต่จำนวนผู้ต้องหาในประเภท (ส.1 ฟื้นฟู) กลับลดน้อยลงมากอย่างมีนัยยะ (ข้อมูลอ้างอิง เว็บไซต์สำนักงานอัยการสูงสุด) หากเจาะเข้าไปดูตัวเลขสถิติสำนวนประเภท (ส.1 ฟื้นฟู) ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา […]

อ่านต่อ